รายชื่อนักเรียน ม.4/2

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่หนึ่งมิติ
ภาพประจำสัปดาห์

วันที่ 26 เดือนกันยายน 1993 นายเดพ มุนเด ไปที่น้ำตกไนแองการา อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้เขาได้ทำเรื่องเสี่ยงตายซึ่งเคยมีคนทำมาแล้ว 4 คน และ ทั้งหมดได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยเขาเข้าไปอยู่ในลูกบอลเหล็ก และปล่อยให้ลอยไปตามกระแสน้ำ ตามบุญตามกรรมดังรูป จะเห็นน้ำตกอยู่ข้างหน้าลูกบอล ความสูงของน้ำตกประมาณ 48 เมตร เขาไหลลงไปเรื่อยจนถึงขอบของน้ำตกและร่วงไปพร้อมกับน้ำ จากการเสี่ยงตายในครั้งนั้นเขาสามารถรอดชีวิตมาได้ สำหรับนักฟิสิกส์แล้ว เราสามารถหาได้ว่า เขาใช้เวลาเท่าไร ก่อนจะถึงพื้นน้ำด้านล่าง อ่านต่อ

รถจรวด ปี 1977 นายคิตตี้ โอนีล สามารถทำความเร็วขึ้นมาใหม่เป็นสถิติโลก ด้วยความเร็ว 628 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 3.72 วินาที แต่ก่อนหน้านี้สิบเก้าปี นายบรีดดิ้ง จูเนียร์ สามารถเร่งความเร็วจาก 0 ถึง 72.5 ไมล์ต่อชั่วโมงภายในเวลา 0.04 วินาที โดยใช้เครื่องยนต์จรวดเป็นตัวเร่ง สิ่งที่น่าสนใจก็คือการขับขี่ของใครเฉียดกับนรกมากกว่ากัน กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อดูรายละเอียด
ที่มา http://www.rmutphysics.com/

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


ความเร็วและความเร่งของของการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย

รูปที่ 1
ให้ vo เป็นอัตราเร็วของ P ที่เคลื่อนที่รอบวงกลม อัตราเร็วของ Q จะเท่ากับองค์ประกอบ (component) ของความเร็วของ P ในแนวดิ่ง นั่นคือ อัตราเร็วของ Q หรืออัตราเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM เป็น vocos หรือ vocos2ft นั่นเอง
ถ้า P มีความเร็วเชิงมุมเป็น เรเดียน/วินาที และเพราะว่า A เป็นรัศมีของวงกลม จากการศึกษาการเคลื่อนที่เป็นวงกลมจะได้ว่า
= vo/R หรือ vo = R
ดังนั้นอัตราเร็วของ SHM = vocos2ft = R cos2ft
สำหรับอัตราเร่งนั้น เนื่องจาก P เคลื่อนที่เป็นวงกลม จึงมีทิศของความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง และความเร่งของ Q ก็เป็นองค์ประกอบในแนวดิ่งของความเร่งของ P

รูปที่ 2
ถ้า ao เป็นอัตราเร่งของ P
aosin ก็เป็นอัตราเร่งของ Q
เพราะว่า P มีความเร็วเชิงมุมเป็น เรเดียน/วินาที และมีรัศมีเป็น A
จึงได้ว่า ao = w2A
ดังนั้น อัตราเร่งของ SHM = aosin = aosin2ft = 2A sin2ft
ค่า ในการเคลื่อนที่แบบ SHM เรียกว่า ความถี่เชิงมุม (angular frequency) โดยมีความสัมพันธ์กับความถี่ (frequency) ดังนี้
= 2f ข้อสังเกต เมื่อพิจารณาทิศทางของความเร็ว และความเร่งของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM แล้ว จะเห็นว่าปริมาณทั้งสองมีทิศสวนกันเสมอ ทั้งนี้เพราะแรงที่กระทำต่อวัตถุจะมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุเสมอ
ที่มา : นายณสรรค์ ผลโภค, นิตยสารเรียนดี ปี 2 ฉบับที่ 3.
การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์
การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์(Motion of a Projectile) คือการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นแนวโค้ง
ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อย่างเสรีด้วยแรงโน้มถ่วงคงที่ เช่น วัตถุเคลื่อนที่ไปในอากาศภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทางเดินของวัตถุจะเป็นรูปพาราโบลา

ข้อควรจำ
สำหรับการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์
1) ความเร่งในแนวระดับ (แกน x) = ศูนย์ นั่นคือ vx = คงที่ = ux ไม่ว่าวัตถุจะอยู่ที่ตรงไหนก็ตาม
พิสูจน์ ไม่มีแรงในแนวแกน X กระทำที่วัตถุ
จาก Fx = max
O = max
ax = 0
จาก vx = ux + axt; ได้ vx = ux
2) ความเร่งในแนวดิ่ง (แกน Y ) = g
พิสูจน์ มีแรงกระทำที่วัตถุคือ w = mg ในทิศดิ่งลงตามแกน Y
จาก Fy = may
mg = may
ay = g ทิศดิ่งลง
3) เวลาที่วัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวโค้ง = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน X = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน Y

ตามรูปข้างบน สมมุติวัตถุวิ่งจาก O ไปตามทางโค้ง (เส้นประ) ถึง A (ทางโค้ง OA)
เงาทางแกน X จะวิ่งจาก O ไปถึง B
เงาทางแกน Y จะวิ่งจาก O ไปถึง C
ดังนั้น tOA = tOB = tOC
4) ความเร็ว v ณ จุดใด ๆ จะมีทิศสัมผัสกับเส้นทางเดิน (เส้นประ) ณ จุดนั้น และ
(1) หาขนาดของ v โดยใช้สูตร

เมื่อ vx = ux = ความเร็วในแนวแกน X
vy = ความเร็วในแกน Y
(2) ทิศทางของ v หาได้โดยสูตร

เมื่อ x = มุมที่ v ทำกับแกน X
5) ณ จุดสูงสุด
vx = ux
vy = 0
หมายเหตุ บางทีเราเรียกวัตถุที่เคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ว่า "โปรเจกไตล์" และเราเรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่ของโปรเจกไตล์
วิธีคำนวณ
1) ตั้งแกน X ให้อยู่ในแนวระดับ และแกน Y อยู่ในแนวดิ่ง โดยจุดกำเนิด (origin) ต้องอยู่ที่จุดเริ่มต้น
2) แตกเวกเตอร์ทุกค่าคือ ความเร็ว ระยะทาง ให้อยู่ในแนวแกน X และ Y
3) คิดทางแกน X มีสูตรเดียว เพราะ ax = 0 คือ

4) คิดทางแกน Y ใช้สูตรทุกสูตรต่อไปนี้

5) กำหนดว่าทิศทางใดเป็นบวก (+) ทิศตรงข้ามจะเป็นลบ (-) แล้วแทนเครื่องหมาย + และ - ในเวกเตอร์ต่อไปนี้ Sx, Sy, Ux, Uy, Vy, ay สำหรับเวลาเป็นปริมาณสเกลาร์เป็น + เท่านั้น
ปกติ นิยมให้ทิศทางเดียวกับความเร็วต้น (ux และ uy ) เป็นบวก (+)
6) เมื่อคิดทางแกน X และแกน Y ตามข้อ 3),4)และ 5) แล้ว จะได้ 2 สมการ จากนี้ก็แก้สมการทั้งสอง ถ้ายังไม่สามารถแก้สมการได้ให้ใช้ความสัมพันธ์จากรูป ดังนี้

ทั้งรูป (ก) และรูป (ข) ใช้ความสัมพันธ์

เมื่อ y = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน Y
x = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน X
=มุมที่ OA ทำกับแกน X
โปรดสังเกตว่า y ในรูป (ก) เป็น + เพราะอยู่เหนือแกน X และ Y ในรูป (ข) เป็น - เพราะอยู่ใต้แกน X แต่เราใช้ค่า y และ x ที่เป็น + เท่านั้น กับ tan เพราะ น้อยกว่า 90 องศา ( <90 องศา)
ที่มา : นายจำนงค์ ฉายเชิด, นิตยสารเรียนดี ปี 2 ฉบับที่ 6+7.

http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99&meta=&aq=7&oq=%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4

กรมอุตุนิยมวิทยาราย งานสภาพอากาศ

พายุโซนร้อน “กิสนา” พัดถล่มแดนตากาล็อกอย่างหนักเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำเอากรุงมะนิลาและอีกหกจังหวัดใกล้เคียงกลายเป็นเมืองบาดาลไปแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา บางพื้นที่เจอน้ำท่วมสูงถึง 6 ม. เผยสร้างความเสียหายที่สุดในรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ตายไปเกินร้อยแล้ว แถมไร้ที่อยู่อาศัยอีก 280,000 คน รัฐบาลฟิลิปปินส์สั่งช่วยเหลือเร่งด่วนแล้ว ด้านอธิบดีกรมอุตุฯเผยสาเหตุเพราะภาวะโลกร้อน ด้านเมืองไทยฝนกระหนํ่าหลายจังหวัดอ่วม

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ว่า นายกิลแบร์โต ติโอโดโร รมว.กลาโหมฟิลิปปินส์ แถลงว่า จากภัยธรรมชาติพายุโซนร้อน “กิสนา” พัดถล่มกรุงมะนิลาจน ได้รับความเสียหายอย่างหนักในรอบกว่า 40 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ของเมืองหลวงของฟิลิปปินส์นั้นจมอยู่ใต้น้ำสูงถึง 6 ม. สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศซึ่งคุ้นเคยอยู่แล้วกับการเผชิญหน้าพายุไต้ฝุ่น มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 106 ศพ และสูญหาย อีก 23 คน ประชาชนเกือบ 280,000 คนในกรุงมะนิลาและ 5 จังหวัดใกล้เคียงไร้ที่อยู่อาศัย แต่ก็มีอีก 41,000 คน ซึ่งได้รับการช่วยเหลือย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว “เป็นน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดเท่าที่ตนเคยประสบมา” รมว.กลาโหมฟิลิปปินส์กล่าว

รายงานข่าวระบุว่า น้ำท่วมหนักนาน 9 ชั่วโมงในกรุงมะนิลาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำให้กลายเป็นเมืองบาดาล โดยเฉพาะในย่านชุมชนแออัด ถนนกลายเป็นคลอง ชาวบ้านต้องหนีน้ำขึ้นไปอยู่บนหลังคา และรอคอยความช่วยเหลือนานกว่า 24 ชั่วโมง ประธานาธิบดีกลอเรีย อาร์โรโย กล่าวเรียกร้องให้ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก รัฐบาล ได้กำหนดเส้นตายคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาให้หน่วยกู้ภัยและกองทัพออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ที่ยังติดค้างอยู่บนที่สูง โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ และเรือยาง ออกปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน 12 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในกรุงมะนิลา ขณะที่กองทัพสหรัฐก็สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ กับเรืออีก 6 ลำในปฏิบัติการช่วยเหลือ

แม้ฝนได้หยุดตกไปแล้วเมื่อวัน อาทิตย์ที่ผ่านมา แต่เจ้าหน้าที่กู้ภัยก็ยังวิตกว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจสูงกว่านี้ เพราะเมื่อน้ำลดลงแล้ว อาจพบศพโผล่ขึ้นมาเพิ่มเติม แล้วเมื่อช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ เฮลิคอปเตอร์และเรือกู้ภัยสามารถช่วยเหลือชาวบ้านที่ติดค้างอยู่บนหลังคาได้แล้วกว่า 5,000 คน ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างรอคอยความช่วยเหลือด้วยความหิวโหยและกระหายน้ำ แต่บางคนก็ไม่อาจทนรอได้ เช่น ที่เมืองปาซิก ทางฝั่งตะวันออกของกรุงมะนิลา ซึ่งเป็นหนึ่งในหกพื้นที่ประสบภัย ชาวบ้านยอมฝ่าน้ำลึกระดับคอพากันเดินหอบลูกจูงหลานหนีน้ำท่วมมาจนได้ แม้กระแสน้ำจะเชี่ยวกรากก็ตาม

ด้านนางเกวนโดลิน ปัง ประธานสภากาชาดฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ทีมช่วยเหลือและกู้ภัยพยายามที่จะเข้าไปให้ถึงพื้นที่ประสบภัย แม้เส้นทางหลวงจะถูกตัดขาดเข้าไปไม่ถึงก็ตาม “เรื่องเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้น มาก่อน กล่าวได้ว่า ร้อยละ 80 ของเขตเมืองหลวงกรุงมะนิลาจมอยู่ใต้น้ำ” นอกเหนือจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นแล้ว การสื่อสารทางโทรศัพท์และกระแสไฟฟ้ายังถูกตัดขาดในพื้นที่ประสบภัย แล้วยังกระท่อนกระแท่น ติด ๆ ขาด ๆ ในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงมะนิลา บางโรงพยาบาลใน ฝั่งตะวันออกของกรุงมะนิลา ได้รับคำสั่งให้อพยพคนไข้หนีน้ำ เช่นเดียวกับท่าอากาศ ยานนานาชาติกรุงมะนิลาได้รับคำสั่งให้ปิดบริการเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเพราะพายุถล่ม

นายปริสโก นิโล อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า สาเหตุที่เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงพายุถล่มฟิลิปปินส์จนได้รับความเสียหายอย่างหนักนี้ ต้องโทษผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่วัดได้จากระยะเวลา 9 ชั่วโมงที่ฝนตกลงมาอย่างหนักในวันเดียวนั้น สูงถึง 41.6 ซม. (16 นิ้ว) ทำลายสถิติเดิมที่เคย บันทึกปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ในวันเดียว 33.4 ซม. เมื่อเดือน ก.ค. 2510

ขณะที่ จ.แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำป่าไหลหลากออกจากลำห้วยแม่สามแลบ พัดพานายณรงค์ สิริวรากร อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 280 หมู่ 1 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ขณะกำลังเดินข้ามลำห้วย จนทำให้จมน้ำเสียชีวิต และมีดินถล่มทับ และพัดพาบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 3 หลัง รวมทั้งมีดินสไลด์ปิดทับเส้นทางถนนสายบ้านแม่สามแลบ-แม่สะเรียง จนถนนถูกตัดหลายจุด รถยนต์ไม่สามารถสัญจรไปมาได้

ที่ จ.เพชรบูรณ์ มีฝนตกอย่างหนักพื้นที่ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดยเฉพาะพื้นที่บนภูเขาสูง ใน ต.วังท่าดี และ ต.ท่าด้วง จนเกิดน้ำไหลบ่าเข้าท่วมหมู่บ้านบริเวณตีนเขา เสียหายกว่า 1,400 ครัวเรือน นอกจากนี้กระแสน้ำยังไหลท่วมพื้นที่ ต.ท่าแดง หมู่ 5 และ หมู่ 12 เสียหายอีกกว่า 300 ครัวเรือน ขณะที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ติดต่อประสานผ่านมาทางจังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือแล้ว

ส่วนที่ จ.จันทบุรี จากปริมาณฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำจันทบุรีเพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบทำให้น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนนั้น นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผวจ.จันทบุรี ได้ประกาศแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังน้ำไหลเข้าท่วม เก็บสิ่งของไว้ในที่สูง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะทางจังหวัดเตรียมแผนรองรับไว้หมดแล้ว และหากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมสามารถร้องขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.จันทบุรี โทรศัพท์ 0-3931-2100 ตลอด 24 ชั่วโมง

ด้าน นายวันชัย อินทนา อายุ 55 ปี อาชีพทำบ่อเลี้ยงปลา เลขที่ 34/1 หมู่ 13 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แจ้งว่าพบจระเข้กำลังไล่กินปลาอยู่ในบ่อ จึงใช้ปืนฉมวกยิงเข้าที่ขาหน้าซ้าย และจับ ตัวไว้ได้มีความยาว 1.5 เมตร น้ำหนัก 10 กิโลกรัม จึงฝากเตือนระวังอันตรายจาก จระเข้ เพราะเกรงว่าอาจจะมีจระเข้อีกหลายตัวหลุดออกจากแหล่งเลี้ยงจระเข้ในช่วง หน้าฝน หรืออาจมีจระเข้อาศัยอยู่ใกล้ ๆ จะทำร้ายได้

ที่ จ.เลย เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ทำให้น้ำป่าไหลเข้าท่วมไร่ นา และบ้านเรือน ได้รับความเสียหายรวม 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง นาด้วง ปากชม และภูหลวง ระดับสูง 50 เซนติเมตร และไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านหนองบัว และหนองบัวน้อย เสียหายประมาณ 100 หลังคาเรือน ถนนสายภูหลวง-หล่มสัก รถเล็กไม่สามารถผ่านไปมาได้

วันเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาราย งานสภาพอากาศมาว่า ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ทั่วทุกภาคมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย บริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของ จ.แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ เลย นคร ราชสีมา นครสวรรค์ จันทบุรี ตราด ระนอง และพังงา ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

อนึ่ง พายุโซนร้อน “กิสนา” บริเวณทะเลจีนใต้ทางด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาวะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-3 ต.ค. ที่จะถึงนี้